นักวิจัยมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ของออสเตรเลียศึกษาพบว่า วาฬหัวทุยหรือ Sperm whale อาจมีบทบาทช่วยลดภาวะโลกร้อนโดยไม่ได้ตั้งใจผ่านมูล ซึ่งช่วยมหาสมุทรดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศได้มหาศาล
นักวิจัยคำนวณว่าวาฬหัวทุยในเขตมหาสมุทรใต้ (Southern Ocean)เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ได้ปล่อยมูลที่มีธาตุเหล็กออกมาประมาณ 50 ตันต่อปี ซึ่งช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในทะเล โดยเฉพาะแพลงก์ตอนที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อดำรงชีวิตและสุดท้ายกลายเป็นอาหารของวาฬเอง
ทั้งนี้ นักวิจัยประเมินว่าการเจริญเติบโตโดยธรรมชาติของวาฬหัวทุยตั้งแต่12,000 ตัวขึ้นไปในเขตมหาสมุทรใต้ ได้ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศได้ประมาณ 40,000 ตันในแต่ละปี ซึ่งมากกว่าที่ปล่อยผ่านการหายใจออกกว่า 2 เท่าตัว แม้ตัวเลขที่ 40,000 ตันจะน้อยกว่า 1 ใน 1,000 ล้านส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดนี้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลในแต่ละปีแต่นับเป็นตัวเลขที่ใช้ได้เลยทีเดียว